ครูฝน2524

ไม่มีบทความ
ไม่มีบทความ
เทคโนโลยีพื้นเพื่อการศึกษา เทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อการเรียนรู้สำหรับครู
หน่วยที่ 1 เทคโนโลยีเพื่อการศึกษา (Technology in Education)หมายถึง การนำเทคโนโลยีด้านต่าง ๆ เข้ามาประยุกต์ใช้เพื่อประโยชน์ในการจัดการศึกษา การจัดการเรียนการสอน เพื่อให้การศึกษาการสอนการเรียนมีคุณภาพ และมีประสิทธิภาพ เทคโนโลยีที่นำมาใช้ในการศึกษา ได้แก่เทคโนโลยีต่าง ๆ ดังนี้
1. เทคโนโลยีสื่อสารโทรคมนาคม คือ เทคโนโลยีที่เกี่ยวกับการสื่อสารทางไกลโดยผ่านระบบการสื่อสารคมนาคมต่าง ๆ
2. เทคโนโลยีคอมพิวเตอร์ ซึ่งใช้คอมพิวเตอร์ในการรับข้อมูล ประมวลผลข้อมูลและนำเสนอข้อมูลตามที่ผู้ใช้ต้องการ
3. เทคโนโลยีเครือข่ายคอมพิวเตอร์ ซึ่งแบ่งเป็นประเภทใหญ่ ๆ ได้แก่ เครือข่ายเฉพาะที่ (Local Area Network-LAN) เป็นระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์ขนาดเล็กที่ต่อเชื่อมคอมพิวเตอร์กับอุปกรณ์ไม่มากนัก มักอยู่ในอาคารหลังเดียว เครือข่ายบริเวณกว้าง (Wide Area Network-WAN) เป็นระบบเครือข่ายที่มีคอมพิวเตอร์กระจายอย่างกว้างขวางทั่วประเทศ ช่วยให้สำนักงานในจังหวัดติดต่อสื่อสารและทำงานร่วมกับสำนักงานใหญ่ที่อยู่ในเมืองหลวงได้
4. ระบบสำนักงานอัตโนมัติ เป็นแนวคิดที่นำระบบเครือข่ายมาใช้เชื่อมโยงคอมพิวเตอร์กับอุปกรณ์สำนักงาน เช่น ระบบไปรษณีย์อิเล็กทรอนิกส์ ระบบประชุมทางไกล
5. เทคโนโลยีระบบสารสนเทศ เป็นการประมวลผลข้อมูลในลักษณะต่าง ๆ เพื่อช่วยในการจัดการและบริหารงาน6. ระบบมัลติมีเดีย เป็นเทคโนโลยีที่ผสมผสานภาพ ภาพเคลื่อนไหว เสียง และข้อความเข้าด้วยกันโดยใช้ระบบคอมพิวเตอร์ช่วยในการแสดงผล นำไปประยุกต์ใช้ในการสอน เช่น คอมพิวเตอร์ช่วยสอน (CAI) กิจกรรมเพื่อการศึกษาที่ใช้เทคโนโลยีเข้ามาช่วย ในปัจจุบันนี้ได้แก่ วิทยุกระจายเสียงเพื่อการศึกษา วิทยุโรงเรียน โทรทัศน์เพื่อการศึกษา การสอนทางไกลผ่านดาวเทียม ระบบประชุมทางไกล ระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์ เช่น เครือข่ายอินเทอร์เน็ต ในบทความผู้เขียนได้กล่าวถึงความสำคัญของเทคโนโลยีเพื่อการศึกษาที่มีในพระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พุทธศักราช 2542 และประวัติการนำเทคโนโลยีมาใช้ในการศึกษาของไทยไว้ด้วยที่มา : ชม ภูมิภาค, เทคโนโลยีเพื่อการศึกษา, เทคโนโลยีสื่อสารการศึกษา, ปีที่ 4 ฉบับที่ 1 หน้า 15-17 2543

หน่วยที่ 2........คอมพิวเตอร์เพื่อการศึกษา........
1. ความหมายของคอมพิวเตอร์เพื่อการศึกษาคอมพิวเตอร์ (Computer) อาจให้ความหมายได้หลายทัศนะ เช่น คอมพิวเตอร์ คือเครื่องประมวลผลที่จัดให้ข้อมูลดิบอยู่ในรูปแบบที่สื่อความหมายเหมาะกับการนำไปใช้ในลักษณะต่าง ๆ ได้เป็นอย่างดี มีหน่วยความจำที่สามารถจำข้อมูลได้จำนวนมาก สามารถคำนวณเปรียบเทียบข้อมูลที่มีความยุ่งยากซับซ้อนได้ในเวลาเพียงเศษส่วนของวินาที คอมพิวเตอร์ เป็นเครื่องมืออิเล็กทรอนิกส์ที่สร้างขึ้นเพื่อใช้ทำงานแทนมนุษย์ในด้านการคิดคำนวณ และสามารถจำข้อมูล ทั้งตัวเลข ตัวอักษร และรูปภาพได้เพื่อการเรียกใช้งานในครั้งต่อไปนอกจากนี้ยังสามารถจัดการเกี่ยวกับสัญลักษณ์ (Symbol) ได้ด้วยความเร็วสูง โดยปฏิบัติตาม ขั้นตอนของโปรแกรม สามารถเปรียบเทียบข้อมูลทางตรรกศาสตร์ การรับส่งข้อมูล การจัดเก็บข้อมูลไว้ในตัวเครื่องสามารถประมวลผลจากข้อมูลต่าง ๆ ได้วัตถุประสงค์เมื่อเสนอกระบวนการสอนโดยใช้คอมพิวเตอร์ช่วยการเรียนการสอนนี้แล้ว ผู้ศึกษาสามารถ1. อธิบายความหมายและความเป็นมาของคอมพิวเตอร์ได้
2. ระบุชนิดและประเภทขอคอมพิวเตอร์ได้
3. อธิบายการทำงานและองค์ประกอบของคอมพิวเตอร์ได้
4. อธิบายการใช้คอมพิวเตอร์ในการศึกษาได้ส่วนประกอบของคอมพิวเตอร์ แนะนำส่วนประกอบของคอมพิวเตอร์ส่วนประกอบทั่วไปของคอมพิวเตอร์จะประกอบด้วยส่วนต่างๆ ดังนี้
1. หน่วยรับข้อมูล (Input Unit) เป็นส่วนที่ทำหน้าที่รับข้อมูลเข้าสู่หน่วยประมวลผลกลาง (CPU) เพื่อทำการประมวลต่อไป
2. หน่วยประมวลผลกลาง หรือ CPU (Central Processing Unit) ทำหน้าที่ในการประมวลผลข้อมูล เพื่อให้ได้ผลลัพธ์ตามที่ต้องการ และทำหน้าที่ควบคุมการทำงานต่างภายในคอมพิวเตอร์
3. หน่วยแสดงผล (Output Unit) เป็นหน่วยที่แสดงผลลัพธ์จากการประมวลผลข้อมูล ซึ่งมีรูปแบบการแสดงผลอยู่ 2 แบบ คือ
3.1 แบบที่สามารถเก็บไว้ดูภายหลังได้
3.2 แบบที่ไม่มีสำเนาเก็บไว้
4.คอมพิวเตอร์ช่วยสอนคอมพิวเตอร์ช่วยสอน คือกระบวนการเรียนการสอน โดยใช้สื่อคอมพิวเตอร์ ในการนำเสนอเนื้อหาเรื่องราวต่างๆ มีลักษณะเป็นการเรียนโดยตรง และเป็นการเรียน แบบมีปฏิสัมพันธ์ คือสามารถโต้ตอบระหว่างผู้เรียนกับคอมพิวเตอร์ได้องค์ประกอบสำคัญของคอมพิวเตอร์ช่วยสอน
1. เสนอสิ่งเร้าให้กับผู้เรียน ได้แก่ เนื้อหา ภาพนิ่ง คำถาม ภาพเคลื่อนไหว
2.ประเมินการตอบสนองของผู้เรียน ได้แก่ การตัดสินคำตอบ
3. ให้ข้อมูลย้อนกลับเพื่อการเสริมแรง ได้แก่ การให้รางวัล หรือ คะแนน
4. ให้ผู้เรียนเลือกสิ่งเร้าในลำดับต่อไป
5. การวัดประเมินผลคอมพิวเตอร์เพื่อการศึกษาการประเมินบทเรียนและสภาพการนำไปใช้มีบทเรียนจำนวนไม่น้อยที่ประเมินโดยผ่านข้อมูลเกี่ยวกับสภาพการใช้จริงตามความมุ่งหมายของบทเรียนนั้นๆ ดังนั้นจึงอาจคาดเดาได้ยากว่าการ ใช้บทเรียนนั้นๆ ในสภาพจริงจะประสบผลสำเร็จหรือล้มเหลว เพราะความสำเร็จหรือความล้มเหลวของ CAI ไม่ได้ขึ้นอยู่กับ CAIบทเรียนแต่จะขึ้นอยู่กับระดับการนำไปใช้จริงด้วยดังนั้นการประเมินบทเรียนควรพิจารณาในเรื่องนี้ให้ละเอียดดังที่รากอสตา (Ragosta.1983 : 124) ได้กล่าวว่า"ความสำเร็จของ CAI จะขึ้นอยู่กับประสิทธิภาพที่เกิดขึ้นจากากรใช้บทเรียนนั้น เมื่อผู้เรียนเรียนจาก CAI ผู้เรียนควรได้เกิดจากการเรียนรู้แบบรอบรู้ เป็นการเรียนด้านวิชาการโดยแท้ เป็นการสดนแบบโดยตรง (Direct Instruction)บรรยากาศในการเรียนดีเป็นการคาดได้ว่า ผู้เรียนได้รับทักษะตามที่คาดหวังและผู้เรียนมีโอกาสมีส่วนร่วม หรือลงมือปฏิบัติในการเรียนระดับสูง"
ที่มา http://sakdadet.blogspot.com/2007/08/blog-post.html

หน่วยที่ 3 อินเตอร์เน็ตเพื่อการสืบค้นอินเตอร์เน็ตเพื่อการศึกษา
1. การใช้เป็นระบบสื่อสารส่วนบุคคล บนอินเตอร์เน็ตมีอิเล็กทรอนิกส์เมล์หรือเรียกย่อๆ ว่า อีเมล์ (E-mail) เป็นระบบที่ทำให้การสื่อสารระหว่างกันเกิดขึ้นได้ง่าย แต่ละบุคคลจะมีตู้จดหมายเป็นของตัวเองสามารถส่งข้อความถึงกันผ่านในระบบนี้โดยส่งไปยังตู้จดหมายของกันและกันนอกจากนี้ยังสามารถประยุกต์ใปใช้ทางการศึกษาได้
2. ระบบข่าวสารบนอินเตอร์เน็ต มีลักษณะเหมือนกระดานข่าวที่เชื่อมโยงถึงกันทั่วโลก ทุกคนสามารถเปิดกระดานข่าวที่ตนเองสนใจหรือสามารถส่งข่าวสารผ่านกลุ่มข่าวบนกระดานนี้เพื่อโต้ตอบข่าวสารกันได้ ้
3. การใช้เพื่อสืบค้นข้อมูลข่าวสารต่างๆ บนอินเตอร์เน็ตมีแหล่งข้อมูลขนาดใหญ่ที่เชื่อมโยงกัน และติดต่อกับห้องสมุดทั่วโลกทำให้การค้นหาข้อมูลข่าวสารต่างๆ ทำได้อย่างรวดเร็วและมีประสิทธิภาพหมายถึงสามารถค้นหาและได้มาซึ่งข้อมูลโดยใช้เวลาอันสั้นโดยเฉพาะบนอินเตอร์เน็ตจะมีคำหลัก (Index) ไว้ให้สำหรับการสืบค้นที่รวดเร็ว
4. ฐานข้อมูลเครือข่ายใยแมงมุม (World Wide Wed) เป็นฐานข้อมูลแบบเอกสาร (Hypertext) และแบบมีรูปภาพ (Hypermedia) จนมาปัจจุบัน ฐานข้อมูลเหล่านี้ได้พัฒนาขึ้นจนเป็นแบบมัลติมีเดีย(Multimedia)ซึ่งมีทั้งข้อความ รูปภาพ วีดิทัศน์ และเสียงผู้ใช้เครือข่ายนี้สามารถสืบค้นกันได้จากที่ต่างๆ ทั่วโลก
5. การพูดคุยแบบโต้ตอบหรือคุยเป็นกลุ่ม บนเครือข่ายอินเตอร์เน็ตสามารถเชื่อมต่อกันและพูดคุยกันได้ด้วยเวลาจริง ผู้พูดสามารถพิมพ์ข้อความโต้ตอบกันได้ไม่ว่าจะอยู่ที่ใดบนเครือข่าย
6. การส่งถ่ายข้อมูลระหว่างกันแบบ FTP (Files Transfer Protocol) คือสามารถที่จะโอนย้ายถ่ายเทข้อมูลระหว่างกันเป็นจำนวนมากๆ ได้ โดยส่งผ่านระบบเครือข่ายอินเตอร์เน็ตซึ่งทำให้สะดวกต่อการรับ-ส่งข้อมูลข่าวสารซึ่งกันและกันโดยไม่ต้องเดินทางและข่าวสารถึงผู้รับได้อย่างรวดเร็วยิ่งขึ้น
7. การใช้ทรัพยากรที่ห่างไกลกัน ผู้เรียนอาจเรียนอยู่ที่บ้านและเรียกใช้ข้อมูลที่เป็นทรัพยากรการเรียนรู้ของมหาวิทยาลัยได้ และยังสามารถขอใช้ทรัพยากรคอมพิวเตอร์ในต่างมาวิทยาลัยได้
ที่มาhttp://it.northbkk.ac.th/elearning/ConceptIT/Chap12/page_12_13_1.asp


หน่วยที่ 4 เทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อการสื่อสารและการสืบค้น
หลักการและความสำคัญระบบเทคโนโลยีสารสนเทศ และระบบสารนิเทศห้องสมุด การสืบค้น การใช้ข้อมูลสารสนเทศ และแสวงหาความรู้จากสื่อสิ่งพิมพ์ สื่ออิเล็กทรอนิกส์ ฐานข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์และแหล่งสารสนเทศ การสื่อสารแลกเปลี่ยนข้อมูลสารสนเทศ การจัดเก็บสารสนเทศบนระบบฐานข้อมูลและเครือข่ายคอมพิวเตอร์ การใช้ระบบมัลติมีเดีย การสร้างสารนิเทศ เพื่อการพัฒนาวิชาชีพและการเรียนรู้สังคมยุคข่าสารข้อมูลอาจารย์: นิธิมา แก้วมณีศึกษาข้อมูลดังนี้· ความสำคัญของเทคโนโลยีสารสนเทศ· ความหมายของข้อมูลและสารสนเทศความหมายของเทคโนโลยีสารสนเทศ· องค์ประกอบของระบบสารสนเทศที่ใช้คอมพิวเตอร์· แนวคิดเกี่ยวกับระบบสารสนเทศประโยชน์ของระบบสารสนเทศ· วิวัฒนาการของฮาร์ดแวร์· ประเภทของคอมพิวเตอร์· ส่วนประกอบของระบบคอมพิวเตอร์· อุปกรณ์การนำเข้าข้อมูล· ซีพียูและหน่วยความจำหลัก· หน่วยความจำสำรอง· เทคโนโลยีด้านการส่งออกข้อมูลแนวโน้มของเทคโนโลยีสารสนเทศ· ประเภทของซอฟแวร์· ซอฟแวร์ระบบ (System Software)· ซอฟแวร์ประยุกต์ (Application software)ภาษาโปรแกรม (Programming Language)· ระบบแฟ้มข้อมูล· ปัญหาของระบบแฟ้มข้อมูล· ฐานข้อมูลและการจัดการฐานข้อมูล· องค์ประกอบของระบบฐานข้อมูล· ความสัมพันธ์ของข้อมูล· ประเภทของระบบฐานข้อมูล· การออกแบบระบบฐานข้อมูลการสร้างระบบฐานข้อมูล· การสื่อสารโทรคมนาคม· องค์ประกอบระบบสื่อสารโทรคมนาคม· ตัวกลางหรือช่องทางของการสื่อสาร· สัญญาณอิเลคทรอนิคส์· ลักษณะตัวกลางในการสื่อสาร· กระบวนการสื่อสาร· เครือข่าย· อินเทอร์เน็ต· World Wide WebWireless Networkจริยธรรมและความปลอดภัยในการใช้งานเทคโนโลยีสารสนเทศ· ประเด็นเกี่ยวกับจริยธรรม· การคุ้มครองความเป็นส่วนตัว· การคุ้มครองทรัพย์สินทางปัญญา· อาชญากรรมทางคอมพิวเตอร์· การรักษาความปลอดภัยของระบบคอมพิวเตอร์
ที่มาhttp://commsci.pn.psu.ac.th/commsciweb/couse_outline/CA/870221.doc

เกี่ยวกับฉัน

***ปริญญาตรี เอกวิทยาการคอมพิวเตอร์ จากมหาวิทยาลัยราชภัฏหมู่บ้านจอมบึง จ.ราชบุรี เรียนต่อ ป.บัณฑิตวิชาชีพครู รุ่น 12 ที่มหาวิทยาลัยราชภัฏหมู่บ้านจอมบึง จ.ราชบุรี ปัจจุบันเป็นครู ศรช. กศน.อำเภอกำแพงแสน จ.นครปฐม ***

ผู้ติดตาม